วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ลูกมู๋

           








  โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยน้ำที่มีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายใกล้เคียงกับ วาฬ ในภาษาอังกฤษเรียกโลมาว่า Dolphin มาจากภาษากรีกโบราณ δελφίς เดลฟิส (delphis) ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์
โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ 2 ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง 50 ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ
ปลาโลมาปากขวดได้มีการบันทึกว่าเป็นปลาโลมาที่มีขนาดกลาง  ร่างกายกำยำ  มีครีบโค้งปานกลาง มีสีดำ  ตัวโตเต็มวัยมีความยาว 2- 3.8 เมตร  น้ำหนัก  220 – 500 กิโลกรัม (เฉลี่ย  242 กิโลกรัม)  มีความแตกต่างกันในแต่ละลักษณะทางภูมิศาสตร์   ขนาดของร่างกายดูจะมีความแปรผันเปลี่ยนแปลงอย่างตรงกันข้ามกับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละส่วนของโลก   มีสีเทาสว่างถึงสีดำในส่วนหน้าและมีสีสว่างในช่วงท้อง
                
                 ปลาโลมาปากขวดมีขนาดที่แตกต่างกันตามที่อยู่อาศัย พบได้บริเวณใกล้ชายฝั่งในเขตร้อน  มีแหล่งที่อยู่ที่กว้างขวางทั่วไป  พบได้ตามชายฝั่งจากปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ อ่าวน้ำตื้น  บางครั้งพวกมันอาจจะท่องเที่ยวไปไกลตามแม่น้ำ  เขตนอกชายฝั่งมักไม่ค่อยพบหรือบางเขตนอกชายฝั่งอาจพบได้แถวเกาะ 
ปลาโลมาริซโซส์   มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่    5   ของตระกูล  ซึ่งตัวเต็มวัยมีขนาด  ประมาณ  4  เมตร  ทั้งเพศผู้และเพศเมีย  ร่างกายส่วนหน้ามีความแข็งแรงอย่างมาก  ครีบส่วนหน้าเป็นครีบที่มีความยาวที่สุดในทุกส่วนของร่างกายส่วนหัวมีรูปร่างแบบกระเปาะ  และมีรอยย่นในแนวตรงยาวในพื้นที่ส่วนหน้า  สีเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น  ช่วงอายุไม่มากมีสีเทาถึงน้ำตาล  หลังจากนั้นจะมีสีดำ  และเริ่มมีสีสว่างขึ้นขณะที่เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย 
                
                 ปลาโลมาริซโซส์อาศัยอยู่ในมหาสมุทรลึก และที่ลาดเอียงอย่างต่อเนื่องที่ระดับความลึก  400 – 1000 เมตร และพบบ่อยที่ปากแม่น้ำ  บางครั้งอาจพบอยู่บนผิวน้ำ 
ปลาโลมาอิรวดี  มีลักษณะคล้ายกับ  ปลาวาฬ Delphinapterus  leucas  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาวาฬนักล่า  Orcinus  orca  หัวของปลาโลมาอิรวดี  มีลักษณะกว้าง  ไม่มีรอยหยัก  ครีบหน้าเล็ก  ครีบบนหลังเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งมน  ขนาดไม่ใหญ่นัก  มีสีเทาดำ  ถึงสีเทาสว่าง  ลำตัวมีความยาวประมาณ  275 เซนติเมตร  แต่เฉลี่ยแล้วมีความยาว  210 เซนติเมตร  มีน้ำหนักประมาณ  115 – 130 กิโลกรัม

                 ปลาโลมาอิรวดีพบได้ตามชายฝั่ง  น้ำตื้น  น้ำเค็ม  และบริเวณปากแม่น้ำ ชอบอยู่ตามแนวชายฝั่งมากว่า  บริเวณปากแม่น้ำ  น้ำเค็ม  ไม่สามารถพบปลาโลมาอิรวดี  ในบริเวณไม่ปลอดภัยนอกชายฝั่ง  ซึ่งพบได้ระยะที่ไม่ไกลจากชายฝั่งนัก 
ปลาโลมาหลังโหนกมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาโลมาปากขวดทั่วไป  ยิ่งมีอายุมากเท่าไรสีจะจางลงเรี่อย ๆ โคนครีบหลังเป็นฐานกว้างโค้งลงด้านหลัง   บางครั้งอาจพบว่าฐานครีบมีความกว้างถึงหนึ่งในสามของความยาวลำตัวทีเดียว   ในทะเลเราสามารถสังเกตปลาโลมาชนิดนี้ได้จากลำตัวที่บึกบึนกลมยาวสีท้องขาวบนหลังครีบเป็นโหนกแต่สิ่งที่ยากก็คือการจะเข้าไปใกล้ ๆ มัน 

                 ปลาโลมาหลังโหนกมีขนาดปกติปลาโลมาตัวเต็มวัยจะมีความยาว 2 ถึง 2.8 เมตรหนัก 150 ถึง 200 กิโลกรัม ลูกโลมาเกิดใหม่ยาวประมาณ 1 เมตร หนัก 25 กิโลกรัม กินปลาเป็นหลัก การว่ายน้ำของโลมานี้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ ไม่ชอบเล่นคลื่น   บริเวณหัวเรือขณะเรือแล่น แต่ชอบเล่นในอากาศ เช่น ตีน้ำด้วยหาง
หรือโผล่หัวผลุบ ๆ โผล่ ๆ ชอบตะแคงแล้วใช้ครีบว่ายน้ำ แม้จะเป็นโลมา ที่ระแวดระวังเรือ แต่ก็สามารถเข้าฝูงกับชนิดอื่นได้ดี โดยเฉพาะพวกโลมาปากขวด โลมาหลังโหนกแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่ดูเหมือนมันชอบที่จะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อน ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก
ซึ่งมีความลึกไม่มาหนักคือลึกไม่เกิน 20 เมตร

                 ปลาโลมาหลังโหนกพบได้ทั่วไป ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค และในทะเลจีนใต้ จึงได้ชื่อสามัญว่าIndo-Pacific humpback dolphin  เป็นที่น่าสังเกต โลมาหลังโหนกมีสีเปลี่ยนแปรจากสีเหลืองจนถึงสีชมพู จนบางครั้งเป็นสีขาวหรือสีเทา แต่สีที่ท้องจะเป็นส่วนที่มีสีจางที่สุด

สุกร

สุกร
สุกร หรือ หมู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในวงศ์ Suidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus domesticus เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดยใช้จมูกดูด สุกรแบ่งเป็นพันธุ์แท้ และพันธุ์ลูกผสม ประเภทของพันธุ์สุกร แบ่งออกเป็น
  1. ประเภทพันธุ์มัน (Lard Type) ได้แก่สุกรพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ควาย พันธุ์ราด พันธุ์พวง พันธุ์กระโดน และพันธุ์ไหหลำ
  2. ประเภทพันธุ์เบคอน (Bacon Type) ได้แก่ พันธุ์ลาร์จไวท์ และพันธุ์แลนด์เรซ
  3. ประเภทพันธุ์เนื้อ (Meat Type) ได้แก่ พันธุ์ดูรอค พันธุ์แฮมเชียร์ และพันธุ์เพียแทรน
โดยหมูบ้านปัจจุบันทั้งหมดเป็นหมูที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากหมูป่าชนิด S. scrofa
สายพันธุ์ของสุกร
1) Large White(พันธุ์ลาร์จไวท์) เกิดจาการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Leicester (ไลเคศเตอร์) กับสุกรพันธุ์ Yorkshire (ยอร์คชายร์)เป็นสุกรดั้งเดิมในเมืองยอร์คชายร์ นำเข้าไปที่อเมริกา แคนนาดา ในคตวรรษที่ 19 ลักษณะ ขนและหนังสีขาวตลอดลำตัว บางตัวอาจจะมีจุดสีดำปรากฏที่ผิวหนังบ้าง จมูกยาว หูตั้ง หัวโต ลำตัวยาว แคบลึก ไหล่โต แต่สะโพกไม่โตเห็นเด่นชัดนัก(ตัวผู้โตเต็มที่ 250 - 300 กก. ตัวเมีย 150 - 220 กก.)เจริญเติบโตเร็ว ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง
2) Landrace (พันธุ์แลนด์เรซ) กำเนิดที่ประเทศเดนมาร์กต้นกำเนิดคือ Large White กับพันธุ์ดั้งเดิมของเดนมาร์ก จึงตั้งชื่อว่า Damish Landraace ปรับปรุงโดยเน้นให้สุกรมีเนื้อ 3 ชั้นสวย อเมริกานำเข้าประเทศศตวรรษที่ 19 โดยผสมกับพันธุ์ Poland China ลักษณะ จมูกยาว หัวเรียวเล็ก หูปรกใหญ่ลำตัวยาว จำนวนซี่โครงประมาณ 14 - 17 คู่ หนาลึก ไหล่กว้างหนา ขาสั้น กระดูกเท้าอ่อนกว่าพันธุ์อื่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ให้นมมาก เติบโตเร็ว
3) Doroc Jersey (ดูร็อคเจอร์ซี่) อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา สีแดง บางที่ว่าสีแดงเกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่าง พันธุ์ Tamwoth เป็นลูกผสมของ Jersey Red ผสมกับพันธุ์ Doroc ลักษณะ สีแดงล้วนในปัจจุบันมีสีตั้งแต่ น้ำตาลฟางข้าวถึงน้ำตาลแดงเข้ม แข็งแรง บึกบึน เลี้ยงลูกเก่ง หน้าหักเล็กน้อย โคนหูตั้งปลายหูปรกเล็กน้อย หูใหญ่ปานกลาง ให้เนื้อดี เหมาะใช้เป็นสายพ่อพันธุ์
4) Cherter White (เชสเตอร์ไวท์) เป็นสุกรเมืองเชสเตอร์ ผสมจาก Large White กับ Lincollnshire(จาก 3 สายพันธุ์) ลักษณะ สุกรขาวแต่อาจมีจุดดำ รูปหน้าเล็กสวยงาม หน้าตรงยาวปานกลาง หูปรก ตาโต ตะโพกอวบนูน ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง แต่มีข้อเสียคือไม่ทนต่อสภาพแดด
5) Berckshire (เบอร์กเชียร์) ต้นกำเนิดอยู่ที่เมืองเบอร์กเชียร์ตอนใต้ของอังกฤษ เป็นลูกผสมระหว่าง สุกรอังกฤษ จีน และไทย สีดำ มีสีขาวอยู่ 6 แห่ง คือ หน้าผาก ปลายหาง เท้าทั้ง 4 จมูกสั้น หน้าหัก หน้าผากกว้าง หูเล็กตั้งตรงแต่อายุมากหูจะปรกไปด้านหน้าเล็กน้อย คางใหญ่ย้อยมาถึงลำคอเป็นสุกรขนาดกลางตะโพกใหญ่ บึกบึน ใช้เป็นสุกรสายพ่อพันธุ์ ให้เนื้อมาก
6) Poland China (โปแลนด์ไชน่า) ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาเป็นพันธุ์ที่ผสมมาจากสุกรรัฐเซีย จีน อังกฤษ ชาวโปแลนด์เลี้ยงจึงขึ้นต้นด้วย Poland แต่สายพันธุ์มาจาก China ลักษณะ สีดำ มีจุดขาว 6 แห่ง 4 แห่งที่เท้า และอีก 2 แห่งที่จมูกและหน้าผาก หน้าผากยาวปานกลาง ลำตัวยาว ลึก หลังกว้าง ให้เนื้อดี หน้าหักเล็กน้อย หูปรก
7) Spotted Poland China เกิดจากการผสมระหว่างสุกรจีนกับ Poland China จะมีสีดำ : ขาว สีขาวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้รวมสีขาวที่เท้า
8) Hamshire (แฮมเชียร์) อยู่ตอนใต้ของอังกฤษ มีแถบขาวพาดที่ไหล่ ผสมระหว่างพันธุ์ที่มีสีขาวพาดที่อกกับพันธุ์ของอังกฤษ(Exxes) ลักษณะหน้ายาว หูตั้ง สีดำ ให้ลูกดก แข็งแรง สุกรให้เนื้อ มีความคงทนต่อดินฟ้าอากาศและเชื้อโรค แต่มักเป็นโรคโพรงจมูกอักเสบง่าย
9) Pietrain มาจากเบลเยี่ยม ลำตัวขาว ตะโพกสวย และจะมีกล้ามเนื้อที่ไหล่และตะโพก ที่มีการพัฒนามีลักษณะซากที่ดีกว่าพันธุ์อื่น แต่การเติบโตช้า อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อไม่ดี
สุกรพื้นเมืองในไทย จะเรียกชื่อตามที่อยู่ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า หลังแอ่น พุงหย่อน หนังหนา ตะโพกเล็ก อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำ
    1) พันธุ์ไหหลำ เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในสุกรพันธุ์พื้นเมือง ขนาดหัวใหญ่ปานกลาง คางหย่อน ไหล่กว้าง พุงหย่อน หลังแอ่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ตัวผู้หนัก ประมาณ 120 - 150 กก. ตัวเมียหนักประมาณ 90 - 110 กก. เลี้ยงในภาคกลางและภาคใต้
    2) พันธุ์ควาย เลี้ยงมากตามภาคเหนือ สีคล้ายพันธุ์ไหหลำ หน้าผากมีรอยย่นใบหูใหญ่ปรก(ตกปลาย)ปลายหูเล็ก พุงหย่อน หลังแอ่น ขนาดเล็กกว่าพันธุ์ไหหลำ ตามีวงแหวนสีขาวรอยดวงตา เติบโตช้า
    3) หมูกระโดนหรือหมูราด คล้ายกับพันธุ์ Berkshire ตัวสั้น ป้อม ใบหูเล็กตั้งตรง ว่องไว ปราดเปรียว หากินในป่าเก่ง กระดูกเล็ก เนื้อแน่น
    4) พันธุ์พวง ขนแข็ง ผิวหนังหยาบ คางใหญ่ ไหล่กว้าง ตะโพกเล็ก หลังแอ่น พุงหย่อน




องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงมี 3 ประการที่สำคัญ ดังนี้
1. สุขภาพสัตว์
            ลูกสุกร และสุกรขุน จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และปราศจากโรค ในการเลี้ยงต้องดูแลสุขภาพดังนี้
            - ลูกสุกรทุกตัว ต้องได้รับการฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนอหิวาต์สุกร,  ถ่ายพยาธิภายนอกภายใน และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เนื่องจากจะทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโต
            - ลูกสุกรเมื่องนำมาลงขุน ต้องมีการเสริมวิตามิน เพื่อลดความเครียดอันเกิดจากการย้ายลงขุน
            - นำสุกรมาจากแหล่งที่มีการจัดการ ฉีดวัคซีนในแม่พันธุ์อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดต่อมาถึงลูกสุกร เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบ พิษสุนัขบ้าเทียม โรคปากเท้าเปื่อย เป็นต้น


2. สิ่งแวดล้อม
          ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม "นิวทรีน่า" ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง จะเกิดประโยชน์สูงสุดและส่งผลให้การเลี้ยงสุกรมีต้นทุนที่ต่ำ ลดความสิ้นเปลืองอาหารและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยง หากเกษตรกรมีการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสุกร ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่กล่าวถึงประกอบไปด้วย
           2.1 การทำม่านป้องกันลมโกรก
                ลูกสุกรเมื่อเิริ่มลงขุน จนถึงน้ำหนัก 50 กก. ต้องทำม่านป้องกันลมเพื่อป้องกันปัญหาโรคปอด และลูกหมูขี้ไหล เมื่อหมูมีน้ำหนัก 50 กก. ขึ้นไปจึงจะสามารถเปิดม่านได้
          2.2 พื้นคอกแห้ง ไม่เปียกชื้น
               ลูกสุกร เมื่ออยู่กับพื้นที่เปียกชื้น จะมีปัญหาด้านปอด สุขภาพไม่สมบูรณ์ วัสดุที่สามารถช่วยซับความชื้นและหาได้ง่ายตามท้องถิ่น เช่น ฟาง แกลบ ขี้เลื่อย ซึ่งวัสดุดังกล่าวเมื่อนำมาปนกับขี้ สามารถทำความสะอาดไ้่้้ด้ง่าย โดยกวาดออกและนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปใส่ไร่นาและสวนผักได้
          2.3 ถังอาหาร
               - ถังหมุน ถังกลม จะต้องมีจำนวนเพียงพอต่อลูกสุกร
               - ความสูงของถังหมุน จะต้องมีความสูงในระดับปากของสุกร เพื่อให้สามารถกินอาหารได้
               - ปริมาณอาหารที่ใส่ในถังหมุน ถังกลม จะต้องทำให้ลูกสุกรสามารถใช้แรงหมุนถังเพื่อปล่อยอาหารได้ และลูกสุกรเมื่อแรกลงขุน ควรจะเทอาหารให้มีความสูงเพียง 1 ใน 3 ของความสูงของถังหมุน
               - กรณีเป็นรางอาหาร ความกว้างของรางอาหารต้องมีขนาดเท่ากับไหล่ของสุกร
          2.4 น้ำ น้ำที่ให้แบบจุ๊บน้ำ จำนวนของจุ๊บน้ำต้องมีอย่างน้อย 2 หัว / 1 คอก อัตราการไหลของน้ำต้องไม่ต่ำกว่า 1 ลิตร / นาที
          2.5 จำนวนสุกรต่อคอก  สูงสุดต้องไม่เกิน 20 ตัว / คอก
          2.6 ขนาดพื้นที่สุกรต่อตัว  ไม่ต่ำกว่า 1 - 1.6 ตารางเมตร / ตัว


3. โภชนาการอาหาร  การเลี้ยงสุกร จำเป็นต้องทำให้สุกรได้รับคุณค่าอาหารที่ครบถ้วน และตรงตามความต้องการของสุกรแต่ละระยะ "นิวทรีน่า" ได้ออกแบบโภชนาการอาหารให้เหมาะสมตามความต้องการของสุกรแลระยะ สิ่งที่นิวทรีน่าได้มอบคุณค่าทางโภชนาการแก่เกษตรการดังนี้
          3.1 การคำนวนตามโภชนาการที่สัตว์นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งแตกต่างจากการคำนวนสูตรโดยทั่วไป ทำให้เกษตรกรได้ต้นทุนที่ถูกที่สุด และใช้นิวทรีน่าได้คุ้มค่าต่อการลงทุน จะเห็นได้จากอาหารนิวทรีน่า ทำให้สุกรโตไว ใช้อาหารน้อยกว่า เมื่อสุกรถึงเวลาจับขาย
          3.2 การให้อาหารควรให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อให้อาหารมีความสด แต่อาหารต้องไม่ขาดราง เพราะจะทำให้ระบบน้ำย่อยสุกรผิดปกติ